สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ส่วนที่ 1
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
(๑) ด้านกายภาพ
๑) ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล เดิมตำบลแดงใหญ่เป็นหมู่บ้านในปกครองของอำเภอพุทไธสง ต่อมาปี พ.ศ. 2519 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะตำบลแดงใหญ่ ในความปกครองของกิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ และเป็นอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ในปี ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบัน
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากที่ทำการอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ 85 กิโลเมตรโดยประมาณ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับเขตตำบลบ้านเป้า อำเภอพุทไธสง
ทิศใต้ ติดกับเขตตำบลหนองแวง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
ทิศตะวันออก ติดกับเขตตำบลหนองแวง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
ทิศตะวันตก ติดกับเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่
๒) ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเหมาะแก่การเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาข้าว และพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ป่าชุมชนและที่สาธารณะประโยชน์
๓) ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศทั่วไปของเขตพื้นที่ตำบลแดงใหญ่มีความคล้ายคลึงภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยทั่วไปจำแนกได้ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มต้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อากาศร้อนจัดและแล้งจัดติดต่อเป็นระยะเวลานานความชื้นในอากาศมีน้อย และมีพายุฤดูร้อนเป็นบางช่วงที่มีคลื่นความร้อนปกคลุม อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 - 40 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มต้นระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม อากาศร้อนและมีพายุลมฝนฟ้าคะนองลมแรงกว่าปีที่แล้วและมีภาวะฝนทิ้งช่วงในบางช่วง
- ฤดูหนาว เริ่มต้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 15 องศาเซลเซียส
๔) ลักษณะของดิน
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายสามารถทำการเกษตรได้ เช่น ข้าว อ้อย หญ้า สำหรับเลี้ยงสัตว์
(๒) ด้านการเมือง/การปกครอง
๑) เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 46 ตารางกิโลเมตร หรือ 28,750 ไร่ แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านแดงใหญ่ หมู่ 2 บ้านหนองไผ่ หมู่ 3 บ้านโคกสะอาด หมู่ 4 บ้านโศกนาค หมู่ 5 บ้านเป้าพัฒนา หมู่ 6 บ้านอีเม้ง หมู่ 7 บ้านหนองจิก หมู่ 8 บ้านโนนเห็ดไค และหมู่ 9 บ้านหนองหัวหมู
๒) การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ มีทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ในปี พ.ศ.๒๕๕6 ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารท้องถิ่น ๒,๕๙๓ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๓,๔๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๔๙ ปัญหาคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูง มีจุดที่น่าสังเกตคือ มีการย้ายเข้าย้ายออกช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะ การคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบล คือ ขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕6)
(๓) ประชากร
(๑) ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ - ๕ ปีและการคาดการณ์ในอนาคต)
- ตำบลแดงใหญ่ประชากรทั้งสิ้น ๔,๖๘๙ คน แยกเป็น ชาย ๒,๒๙๗ คน หญิง ๔,๖๘๖ คน
จำนวนครัวเรือน ๑,๑๙๓ ครัวเรือน
ตารางแสดง ข้อมูลประชากรตำบลแดงใหญ่ (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง ๕ ปี)
หมู่ที่ |
ชื่อบ้าน |
จำนวนประชากรตำบลแดงใหญ่ (เปรียบเทียบย้อนหลัง ๕ ปี) |
||||
พ.ศ. ๒๕๖๐ |
พ.ศ. ๒๕๖๑ |
พ.ศ. ๒๕๖๒ |
พ.ศ. ๒๕๖๓ |
พ.ศ. ๒๕๖๔ |
||
1 2 3 4 5 6 7 8 9 |
บ้านแดงใหญ่ บ้านหนองไผ่ บ้านโคกสะอาด บ้านโศกนาค บ้านเป้าพัฒนา บ้านอีเม้ง บ้านหนองจิก บ้านโนนเห็ดไค บ้านหนองหัวหมู |
๗๒๙ ๖๔๒ ๒๙๘ ๔๐๕ ๖๕๒ ๖๔๑ ๕๓๑ ๕๓๕ ๒๓๐
|
๗๒๙ ๖๓๙ ๓๐๑ ๔๐๒ ๖๔๖ ๖๕๓ ๕๓๔ ๕๓๖ ๒๓๒ |
๗๓๗ ๖๓๕ ๓๑๐ ๓๙๗ ๖๓๙ ๖๕๗ ๕๔๑ ๕๔๒ ๒๓๑
|
๗๔๙ ๖๒๔ ๓๑๑ ๓๙๔ ๖๔๙ ๖๕๘ ๕๔๙ ๕๔๖ ๒๒๙ |
๗๔๐ ๖๑๘ ๓๑๒ ๓๙๓ ๖๕๙ ๖๔๒ ๕๕๒ ๕๔๕ ๒๒๘ |
|
รวม |
๔,๖๖๓ |
๔,๖๗๒ |
๔,๖๘๙ |
๔,๗๐๙ |
๔,๖๘๙ |
ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนประชากร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูล ณ กันยายน 256๔
ตารางแสดง ช่วงอายุและจำนวนประชากร
จำนวนประชากรองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ พ.ศ. ๒๕๖๔ |
|||
ประชากร |
ชาย |
หญิง |
ช่วงอายุ |
จำนวนประชากรเยาวชน |
๔๖๔ |
๔๖๔ |
อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี |
จำนวนประชากร |
๑๕๑๖ |
๑๔๙๒ |
๑๘ – ๖๐ ปี |
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ |
๓๑๗ |
๔๓๓ |
อายุมากกว่า ๖๐ ปี |
(๔) สภาพทางสังคม
๑) การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาส) 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
๒) สาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง
- อสม. 9 หมู่บ้าน
๓) อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนในหมู่บ้านและในองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาคือจากข้อมูลที่สำรวจพบว่ามีการป้องกันอุบัติเหตุอาชญากรรม วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ได้บรรจุโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด ในแผนพัฒนาท้องถิ่น เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
๔) ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธร
บ้านใหม่ไชยพจน์ได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ทราบนั้นพบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่มีผู้ที่ติดยาเสพติดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่ามาก และยังพบว่ามีผู้ค้าในพื้นที่ด้วย การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่สามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์
การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
๕) การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
(๒) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(๓) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(๔) ดำเนินโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
(๕) ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป
(๖) ดำเนินโครงการสงเคราะห์ครองครัวผู้ยากไร้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ.
(๗) ดำเนินโครงการสร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้ รายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
(๘) อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน
(๙) ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน
(๕) ระบบบริการพื้นฐาน
๑) การคมนาคมขนส่ง (ทางบก,ทางน้ำ,ทางราง ฯลฯ)
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มี บขส. เนื่องจากตั้งอยู่ที่นอกเขตตัวอำเภอ การเดินทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้เส้นทาง บุรีรัมย์ - พุทไธสง จากที่ว่าการอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 202 ส่วนถนนภายในตำบลมีดังนี้
๑. ถนนลาดยาง มีจำนวน ๔ สาย
๒. ถนนคอนกรีต มีจำนวน ๑๖ สาย
๓. ถนนดิน มีจำนวน ๑๐ สาย
๒) การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด รวมไปถึงการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน
๓) การประปา
การประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มีกิจการประปาแต่ละหมู่บ้านได้บริหารจัดการเอง และทุกหมู่บ้านสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่จะมีปัญหาในปีที่ผ่านมามีบางหมู่บ้านที่เกิดปัญหาภัยแล้งซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ได้นำโครงการเกี่ยวกับพัฒนาแหล่งน้ำบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) เพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป
๔) โทรศัพท์
ปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ เนื่องจากประชาชนได้นิยมใช้โทรศัพท์ส่วนบุคคลแทน ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว และสามารถใช้ระบบอินเตอร์เน็ตได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ สำหรับสถานที่ราชการ ยังคงใช้ระบบโทรศัพท์พื้นฐานในการติดต่อสื่อสาร ใช้อยู่
๕) ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ มีบริการไปรษณีย์ประจำตำบล ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ บ้านเป้าพัฒนา หมู่ที่ ๕ เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่อำเภอจึงไม่มีบริการขนส่ง
(๖) ระบบเศรษฐกิจ
๑) การเกษตร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาและการปลูกพืชผักสวนครัวบางฤดูกาล อาชีพหัตถกรรมในครัวเรือน ได้แก่ การทอผ้าไหม การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย การจักสาน การค้าขาย ช่างก่อสร้าง และทำงานรับจ้างทั่วไปในประเทศและต่างประเทศ
๒) การประมง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มีการประมง เป็นการจับปลาตามธรรมชาติในบริโภคในครัวเรือนตามฤดูกาลเท่านั้น
๓) การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ เพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน
๔) การบริการ
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มีร้านอาหาร/คาราโอเกะ โรงแรมและรีสอร์ท
๕) การท่องเที่ยว
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ และส่งเสริมกิจกรรมของวัด
๖) อุตสาหกรรม
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มีอุตสาหกรรม แต่มีการประกอบโรงสีขนาดเล็ก จำนวน ๒๖ แห่ง
๗) การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน - แห่ง
บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด - แห่ง ตลาดสด - แห่ง
ร้านค้าต่างๆ ๔๐ แห่ง โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง
ซุปเปอร์มาเก็ต - แห่ง อู่ซ่อมรถ - แห่ง
๘) แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
(๗) ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๑) การนับถือศาสนา
ประชาชนในตำบลแดงใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมี ศาสนสถาน ๖ แห่ง ดังนี้
๑. วัดอิสาณ ตั้งอยู่ที่ บ้านแดงใหญ่ หมู่ที่ ๑
๒. วัดหนองไผ่น้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ ๒
๓. วัดบ้านโคกสะอาด ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกสะอาด หมู่ที่ ๓
๔. วัดบ้านโศกนาค ตั้งอยู่ที่ บ้านโศกนาค หมู่ที่ ๔
๕. วัดสุคันธารมย์ ตั้งอยู่ที่ บ้านเป้าพัฒนา หมู่ที่ ๕
๖. วัดใหม่สามัคคีธรรม ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนเห็ดไค หมู่ที่ ๘
๒) ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม
- ประเพณีทำบุญเบิกบ้าน ประมาณเดือน พฤษภาคม
- ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณีบุญบั้งไฟอ่างท่าเสียว ประมาณเดือน พฤษภาคม
- ประเพณีบุญข้าวสาก ประมาณเดือน กันยายน
- ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน
- ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม
- ประเพณีบุญผะเหวด ประมาณเดือน มีนาคม
- ประเพณีบุญข้าวจี่ ประมาณเดือน กุมภาพันธ์
๓) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตพื้นที่ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทอเสื่อจากต้นกก สานแห ทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย
ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาอีสาน
๔) OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ส่วนมากจะเป็นเกษตรกรรม ในช่วงที่หมดฤดูในการทำนาก็จะมีกลุ่มแม่บ้านทำผ้าไหม ของที่ระลึกก็จะเป็นในส่วนของผ้าไหม ผ้าฝ้ายเป็นส่วนใหญ่ เช่น
๑. ผ้าไหมมัดหมี่
๒. ผ้าห่ม
๓. ผ้าขาวม้า
(๘) ทรัพยากรธรรมชาติ
๑) น้ำ
ในการใช้อุปโภคบริโภคเป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำใต้ดิน
๒) ป่าไม้
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ส่วนมากเป็นสภาพป่าไม้พื้นบ้าน ป่าชุมชนและป่าเศรษฐกิจ
๓) ภูเขา
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ไม่มีภูเขา
๔) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก เป็นที่นา
ไร่สวน ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วนมีการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีการเผาขยะ ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ดินและน้ำ ทำให้ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค - บริโภคได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น และน้ำฝน น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน เอกชน โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของสาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ