|
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่
- ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ บ้านเมืองน่าอยู่ คุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักธรรมาภิบาล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น โดยใช้หลักธรรมาภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน
๑ ยุทธศาสตร์
คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ๕ ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านบ้านเมืองน่าอยู่และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการที่ดีมีหลักธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๒ เป้าประสงค์
(1) ขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร
(๒) พัฒนาชุมชนและสังคมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาในสังกัด อปท.
(4) พัฒนาและเตรียมบุคลากรด้านการศึกษา
(5) สนับสนุนให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือและประกอบการศึกษา
(6) ส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(7) ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยใช้งานได้ดี
(8) ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิต
(9) สนับสนุนการทำเกษตรทางเลือก
(10) ส่งเสริมประชาชนในท้องถิ่นให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ
(11) ส่งเสริมพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชนสตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และ ด้อยโอกาส
(๑๒) สนับสนุนและประสานรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับเพื่อป้องกันและให้มีการปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเสพ
(13) สนับสนุนการจัดตั้งกองทุน และเพิ่มสวัสดิการ
(14) ส่งเสริมและสนับสนุนให้การรักษาพยาบาลประชาชนในระดับตำบล หมู่บ้าน และชุมชนที่คุณภาพและมาตรฐาน
(15) ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน ให้มีสุขภาพแข็งแรง
(16) ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างคุณภาพชีวิตพื้นฐาน
(17) ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมอย่างทั่วถึง
(18) ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ
(19) พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น
(20) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมลานกีฬาชุมชน และจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
(21) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมการบริหารงาน
(22) ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(23) ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในหน่วยงานให้ ศึกษา/อบรม หลักสูตรต่างๆเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(24) ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติต่าง ๆ
(25) ส่งเสริมและสนับสนุน และร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน มูลนิธิการกุศลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้
ประสบภัย
(26) ส่งเสริมสนับสนุน และร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการพัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลอง และป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์
(27) ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนใน การรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ
(28) ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำระบบกำจัดขยะรวม
๓ ตัวชี้วัด
(1)ประชาชนมีแหล่งกักเก็บน้ำใช้สำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างพอเพียง
(2)ประชาชนในตำบลมีรายได้เพิ่มขึ้น
(3)โรงเรียนสพฐ.3แห่งได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวันอาหารเสริมนม
(4)ศพด.2แห่งได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวันอาหารเสริมนมรวมทั้งพัฒนาอาคารสถานที่และ ระบบบริหารจัดการ
(5)เด็กและเยาวชนได้ร่วมกิจกรรม
(6)ผู้ดูแลเด็กเล็กได้รับการพัฒนาประสิทธิในการปฏิบัติงาน
(7) เด็กเล็กได้มีความรู้ และมีทักษะเพิ่มขึ้น
(8) มีวัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
(9) อาสาสมัครในการช่วยเหลือชุมชนและประสานงานในชุมชน
(10) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 5%
(11) ส่งเสริมสวัสดิการสังคม สงเคราะห์ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ๙ หมู่บ้าน
(12) กลุ่มสตรี อสม. ได้ทำกิจกรรม ร่วมกัน และสร้างความสามัคคี
(13) ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ๙ หมู่บ้าน
(14) จัดวางผังเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามมาตรฐาน
(15) ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมอย่างทั่วถึง ๙ หมู่บ้าน
(16) ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ
(17) ส่งเสริมขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ๙ หมู่บ้าน
(18) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมลานกีฬาชุมชนและจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ทั้ง ๙ หมู่บ้าน
(19) ส่งเสริมการเลือกตั้งตามระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ๙ หมู่บ้าน
(20) การจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารจัดการภายในองค์กรให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ๙ หมู่บ้าน
(21) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมการบริหารงาน
(22) ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการขอประชาชนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๙ หมู่บ้าน
(23) ส่งเสริมการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัยประจำหมู่บ้าน/ตำบลและทีมกู้ชีพกู้ภัยตำบล ๙ หมู่บ้าน
(24) สนับสนุนให้มีวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันและการช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ
(25) เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามประชาชนเห็นประโยชน์ของการปลูกป่า
(26) ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ภาคเอกชนในการรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหา
สิ่งแวดล้อมของ 9 หมู่บ้าน
(27) การกำจัดขยะมูลฝอย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งปฏิกูลอย่างถูกวิธี 9 หมู่บ้าน
๔ ค่าเป้าหมาย
(1) มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
(๒) การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
(3) ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพด้านเกษตร
(4) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
(5) ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีสุขภาพแข็งแรง
(6) ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย
(7) ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการของท้องถิ่น
(8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาธรรมาภิบาลดีขึ้น
(9) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(10) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์
๕ กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่1สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
๑.แผนงานบริหารงานทั่วไป
๒.แผนงานการศึกษา
๓.แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๔.แผนงานการการศาสนาและวัฒนธรรม
๕.แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา
ยุทธศาสตร์ที่2บ้านเมืองน่าอยู่และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๑.แผนงานบริหารงานทั่วไป
๒.แผนงานการรักษาความสงบภายใน
๓.แผนงานสาธารณสุข
๔.แผนงานสังคมสงเคราะห์
๕.แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๖.แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
๗.แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา
๘.แผนงานงบกลาง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เศรษฐกิจและการเกษตร
๑. แผนงานสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชน
๒. แผนงานการเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการที่ดีมีหลักธรรมาภิบาล
๑. แผนงานบริหารงานทั่วไป
๒. แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑. แผนงานสาธารณสุข
๒. แผนงานเคหะและชุมชน
๓. แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา
๔. แผนงานการเกษตร
๖ จุดยืนทางยุทธศาสตร์
(1) การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
(2) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
(3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง
(4) การกำจัดขยะมูลฝอย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
(5) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
๗ แผนงาน
(1) แผนงานบริหารงานงานทั่วไป
(2) แผนงานการรักษาความสงบภายใน
(3) แผนงานการศึกษา
(4) แผนงานสาธารณสุข
(5) แผนงานสังคมสงเคราะห์
(6) แผนงานเคหะและชุมชน
(7) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(8) แผนงานการศาสนาและวัฒนธรรมและนันทนาการ
(๙) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา
(๑๐) แผนงานการเกษตร
(๑๑) แผนงานงบกลาง